วาล์วชนิดบานยก (เกทวาล์ว)
คุณลักษณะ
- 1. ติดตั้งง่าย
- 2. ลดแรงบิดที่ใช้ในการเปิด-ปิด
- 3. วัสดุ
- 3.1 เหล็กสเตเลสเชื่อมประกอบ
- 3.2 เหล็กหล่อเหนียว
- 3.3 เหล็กหล่อ
- 3.4 เหล็กเหนียวเชื่อมประกอบ
- 4. เป็นไปตามข้อกำหนด AWWA C-501 : 1992 , BS 7775 : 1995
1.โครงและประตู
สร้างจากเหล็กหล่อที่ทนทานและมีการเสริมครีบเพื่อเพิ่มความแข็งแรงเพื่อให้ทนต่อการโก่ง จุดเชื่อมต่อโครงเป็น flat back หรือ spigot type เพื่อต่อขยายเข้าไปในคอนกรีต, spigot end type ช่วยทำให้โครงแข็งแรงมากขึ้น ในกรณีของวาล์วบานยกแบบวงกลมหรือสี่เหลี่ยมก็มีหน้าจานให้เลือกตามต้องการ เพื่อยึดติดกับหน้าจานท่อและ wall thimble แต่ละด้านของโครงจะมี guide channels สำหรับบานสั้น โดยจะต่อสูงขึ้นไปให้เพียงพอเพื่อรับบานสั้นได้ไม่น้อยกว่า 2/3ของความสูงบานขณะที่เปิดสุด
2.รองลิ้นที่ตัวเรือนและรองลิ้นที่บานประตู
โดยปกติจะเป็นทองบรอนซ์แผ่นยึดด้วยสลักติดกับผิวหน้าที่ผ่านการกลึงมาแล้วบนตัวเรือนและบานประตู และจะเจียรนัยผิวเพื่อกันรั่ว และมีทองบรอนซ์แผ่นติดที่ผิวรับแรงกดที่ guide ขณะที่ลิ้นถูกยกขึ้น กรณีใช้กับน้ำทะเลหรือน้ำเสียอาจเปลี่ยนเป็นอลูมิเนียมบรอนซ์หรือเหล็กสเตนเลส
3.ลิ่ม
แต่ละด้านของโครงจะมีแท่งเหล็กหล่อปิดครอบลงมาด้วยบล็อกที่ปรับได้เพื่อจำกัดการเลื่อนลงของประตูในขณะที่ปิดสนิทและในขณะที่มีแรงดันดันให้ประตูออกจากโครงก็จะมีลิ่มเสริมที่ด้านบนและล่าง กรณีที่ต้องใช้งานหนัก ลิ่มด้านบนจะเป็นแท่งเหล็กหล่อเต็มบานประตูโดยมีลักษณะแคบลงรับกับลิ่มประตู จำนวนลิ่มขึ้นอยู่กับขนาดและรูปร่างของวาล์วบานยกและความดัน
4.ก้าน
มีทั้งแบบก้านยกและก้านไม่ยก แบบก้านไม่ยก operating thread จะเข้ากับtapped lifting nut (Stem nut) ที่บริเวณหัวของบานประตู แบบก้านยก ก้านจะถูกยึดติดกับ Stem Nut ด้วยสลัก มี operating thread ที่ด้านบนซึ่งติดอยู่กับ evolving nut ในตัวขับ ก้านมีหลายขนาดให้เลือกให้เหมาะการการใช้งานและตกแต่งด้วย การกลึงเกลี่ยวแบบstub acme form วัสดุที่ใช้เป็นวัสดุเหมาะสมกับของเหลวที่ใช้ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยของ ธรรมชาติของของไหล, the operating load, ระยะทางจากประตูไปถึงตัวขับ ฯลฯ ปกติจะใช้เป็นอลูมิเนียมบรอนซ์หรือเหล็กสเตนเลส
Download Catalog